
หลายๆ คนอาจยังไม่รู้จักหรืออาจจะสงสัยว่า ปั๊มติ๊ก จริงๆ แล้วมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง และสำคัญอย่างไรต่อเครื่องยนต์ ซึ่งคนส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ทราบถึงวิธีการดูแลปั๊มติ๊กที่ถูกต้อง ว่าจะต้องใช้งานอย่างไรเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวและมีประสิทธิภาพ สำหรับในวันนี้ทาง CARSOME จะพาไปรู้จักกับปั๊มติ๊กหรือปั๊มเชื้อเพลิงกันให้มากขึ้น รวมไปถึงการทำความเข้าใจเพื่อช่วยถนอมอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้นด้วยเช่นกัน รับรองว่าเป็นประโยชน์กับคนที่ใช้รถยนต์แน่นอน!
ซื้อรถมือสอง กับ CARSOME การันตีคุณภาพรถยนต์ ผ่านการตรวจเช็กอย่างละเอียดถึง 175 จุดพร้อมปรับสภาพให้ได้มาตรฐาน รับประกันสูงสุด 2 ปีเต็ม ราคาโปร่งใส คุ้มค่า ซื้อไปแล้วไม่พอใจ การันตีคืนเงินภายใน 30 วัน

รู้จัก ปั๊มติ๊ก และ ปั๊มหัวฉีดดีเซล |
---|
ปั๊มติ๊ก คือ อะไร

สำหรับ ปั๊มติ๊ก เป็นหนึ่งในรูปแบบของ ปั๊มเชื้อเพลิง (Fuel pump) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในถังน้ำมัน ซึ่งสามารถแบ่งแยกได้หลายอย่าง ทั้งแบ่งตามตัวยานพาหนะ เช่น ปั๊มติ๊กรถเก๋ง, ปั๊มติ๊กมอเตอร์ไซค์ ฯลฯ แบ่งตามลักษณะการติดตั้งทั้งแบบที่ติดตั้งภายในถังเชื้อเพลิง, ปั๊มติ๊กนอกถัง หรืออาจจะติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์ก็ได้ โดยที่มาของชื่อปั๊มติ๊กนั้นมาจากเสียงติ๊กๆ ที่ดังตลอดเวลาระหว่างที่ปั๊มทำงาน จึงเป็นที่มาของชื่อ ติ๊ก นั่นเอง
ปั๊มติ๊ก มีหน้าที่อย่างไร
ปั๊มติ๊กรถยนต์ มีหน้าที่ส่งเชื้อเพลิงเข้าสู่คาร์บูเรเตอร์ในระบบสันดาปภายในของเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งนอกจากปั๊มติ๊กจะต้องสามารถจ่ายน้ำมันในปริมาณที่เพียงพอแล้ว ก็ต้องสามารถสร้างแรงดันได้อย่างเหมาะสมด้วย ซึ่งการทำงานของปั๊มติ๊กจะใช้หลักการตัดต่อกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้แผ่นไดอะเฟรมซึ่งประกอบเข้ากับชุดลิ้นปิด-เปิดที่ตัวปั๊มขยับตัวเข้าออก ทำให้เกิดเกิดแรงดูดและแรงดันที่จะดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังเชื้อเพลิงเข้ามาในระบบเชื้อเพลิงได้
ถึงแม้ว่าปั๊มติ๊กหรือ ปั๊มเชื้อเพลิง จะมีหลักการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อนและมีหน้าที่ในการป้อนเชื้อเพลิงเข้าระบบเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วปั้มติ๊กเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของเครื่องยนต์ เพราะ ปั๊มติ๊กคือ ‘ต้นน้ำ’ แหล่งสำคัญของระบบเชื้อเพลิงทั้งระบบ เพราะถ้าหากว่าเกิดปัญหากับปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงก็อาจจะส่งผลโดยตรงต่อสรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์ได้
ปั๊มติ๊ก มีกี่ชนิด
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ชนิดของ ปั้มติ๊กเบนซิน สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ แต่ลักษณะการแบ่งที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ การแบ่งตามการติดตั้งกับระบบเครื่องยนต์ที่ใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. ปั๊มติ๊กแช่ถังน้ำมัน

เครดิตภาพจาก : johsautolife.com
ปั๊มติ๊กแช่ถังน้ำมัน หรือ In-tank Fuel Pump เป็นรูปแบบของปั๊มติ๊กที่รถยนต์เครื่องยนต์เบนซินในปัจจุบันเกือบทั้งหมดติดตั้ง โดยตัวปั๊มติ๊กจะถูกติดไว้ในถังน้ำมันเนื่องจากการเอาตัวปั๊มไปจุ่มไว้ในน้ำมันเป็นการระบายความร้อนที่ดีที่สุด นอกจากนั้น ปั๊มประเภทนี้ยังมีท่อดูดจุ่มอยู่ในถังโดยตรง จึงช่วยลดการเกิดไอของน้ำมันในขณะที่ดูดน้ำมันเข้าเครื่องยนต์ได้ ทำให้ตัวรถมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เนื่องจากถ้าตัวปั๊มเกิดการลัดวงจรแล้ว โอกาสที่จะเกิดประกายไฟและเกิดการลุกไหม้ก็เกิดขึ้นได้ยากขึ้น เพราะว่าน้ำมันในถังจะลุกไหม้ได้ยากกว่าไอน้ำมันนั่นเอง
2. ปั๊มติ๊กนอกถัง

เครดิตภาพจาก : johsautolife.com
ปั๊มเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง (In-line Pump) หรือ ปั๊มติ๊กนอกถัง (External Pump) ก็คือ ซึ่งเป็นปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกวางไว้นอกถังน้ำมันเชื้อเพลิง โดยอาจจะติดตั้งอยู่ที่ห้องเครื่องยนต์หรืออาจจะติดตั้งภายในห้องโดยสารสำหรับรถแข่ง โดยจะถูกออกแบบให้ตัวปั๊มอยู่ใกล้กับเครื่องยนต์มากกว่า จึงสามารถสร้างแรงดันเพื่อส่งไปยังรางหัวฉีดได้มากกว่า โดยปกติแล้ว ปั๊มที่วางไว้นอกถังส่วนใหญ่จะเป็น “ปั๊มติ๊กซิ่ง” หรือปั๊มที่เจ้าของรถนำมาติดตั้งเองในลักษณะของรถแต่งซิ่ง ซึ่งจะมีความสามารถในการสร้างแรงดันน้ำมันที่มากกว่าปั๊มติ๊กที่มาจากโรงงานพร้อมตัวรถ
ปั๊มติ๊ก กับปั๊มหัวฉีดต่างกันอย่างไร
ปั๊มติ๊กและปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิงเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่หลายคนสับสนในความแตกต่าง โดยหลายคนอาจจะสงสัยว่า เครื่องยนต์ดีเซลมีปั๊มติ๊กหรือไม่ หรืออาจจะเคยเรียก ปั๊มติ๊กดีเซล กันจนติดปาก แต่แท้จริงแล้ว ปั๊มติ๊กจะมีอยู่ในเฉพาะเครื่องยนต์เบนซิน และจะทำหน้าที่เพียงป้อนเชื้อเพลิงเข้าสู่คาร์บูเรเตอร์เพื่อผสมน้ำมันและอากาศให้กลายเป็นไอเท่านั้น ในขณะที่ ปั๊มหัวฉีด จะมีเฉพาะในเครื่องยนต์ดีเซล โดยจะทำหน้าที่ที่ซับซ้อนกว่านั้น คือทั้งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมกับควบคุมแรงดันและจังหวะการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านหัวฉีดเข้าสู่กระบอกสูบของแต่ละสูบของเครื่องยนต์ตามจังหวะการทำงาน เนื่องจากระบบเครื่องยนต์ดีเซลต้องทำงานโดยอาศัยการจุดระเบิดด้วยการอัดอากาศนั่นเอง
สำหรับ ชนิดของปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซลจะมีทั้งแบบควบคุมด้วยกลไก และควบคุมด้วยอีเลกทรอนิกส์ โดยทั่วไปมีใช้กัน มี 3 แบบดังนี้
1. ปั๊มหัวฉีดแบบแถวเรียง

ปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงควบคุมด้วยกลไกแบบแถวเรียงหรือ PE (in-line pump) จะมีจำนวนลูกปั๊มเท่ากับจำนวนสูบของเครื่องยนต์จ่ายน้ำมันแบบ 1 ปั้มต่อ 1 กระบอกสูบ ใช้ในเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1 สูบจนถึงเครื่องยนต์ขนาด 12 สูบ มีการทำงานโดยขับเคลื่อนด้วยเฟืองกับเพลา ซึ่งจะประกอบด้วย
- กัฟเวอร์เนอร์ (Governor) มีหน้าที่ในการควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ในขณะนั้น โดยการปรับปริมาณการฉีดของน้ำมันเชื้อเพลิงสภาวะของเครื่องยนต์เพื่อควบคุมความเร็วรถยนต์ ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้รอบเครื่องยนต์เดินเบาและรอบสูงสุดให้คงที่
- ไทเมอร์อัตโนมัติ (Automatic Timer) มีหน้าที่ในการเร่งการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นเมื่อมีการเร่งเครื่อง และเพียงพอต่อความต้องการของเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางและขับเคลื่อนด้วยเพลาลูกเบี้ยวของปั๊ม
- ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed Pump) ทำหน้าที่ในการดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันผ่านกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
- ตัวปั๊ม (Pump Body) หน้าที่ของตัวปั๊มนั้นจะเป็นกลไกที่ช่วยสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงและกลไกควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงอีกทั้งยังทำหน้าที่ส่งน้ำมันไปให้กับกระบอกสูบของแต่ละสูบ
2. ปั๊มหัวฉีดแบบจานจ่าย

เครดิตภาพจาก : https://www.gaeglong.com
ปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่ายหรือ DP (Distributor Pump) เป็นปั๊มที่มีชุดสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูง เพื่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ทุกกระบอกสูบผ่านท่อแรงดันสูงเพียงชุดเดียวพร้อมๆกัน ตามจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ซึ่งจะประกอบไปด้วยกัฟเวอร์เนอร์ ไทเมอร์ และปั๊มดูดน้ำมัน โดยจะมีลักษณะขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถทำงานที่ความเร็วสูงได้ดี อัตราเร่งไว และยังหล่อลื่นได้ด้วยน้ำมันดีเซล จึงทำให้ไม่ยุ่งยากในบำรุงรักษา ส่วนใหญ่มักจะใช้เป็น ปั๊มติ๊กรถกระบะ รถโฟรค์ลิฟ รถไถ เป็นต้น สำหรับในภายในจะมีส่วนประกอบที่คล้ายกับแบบแรก
3. ปั๊มหัวฉีดแบบคอมมอนเรล

สำหรับปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงควบคุมการทำงานด้วยอีเล็คทรอนิคส์แบบคอมม่อนเรล (common rail pump) นั้น จะควบคุมการทำงานด้วยระบบ Electronics เป็นหลัก และมีระบบการจ่ายน้ำมันเป็นประเภทดีเซล ซึ่งในปัจจุบันรถกระบะที่ออกใหม่จะใช้ระบบนี้ทั้งหมด เพราะสามารถสร้างแรงบิดและแรงม้าได้สูง
ในส่วนของระบบคอมมอนเรลจะมีอุปกรณ์หลักๆ คือ ปั๊มแรงดันสูง ที่สามารถสร้างแรงดันได้ 1,600-1,800 bar ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต โดยในระบบนี้ ปั๊มแรงดันสูงจะอัดน้ำมันเข้าสู่รางร่วม เพื่อให้น้ำมันมีแรงดันเท่ากันทุกสูบ และจะใช้หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit : ECU) ในการคำนวณหาจังหวะการปล่อยน้ำมันที่เหมาะสม และ ECU จะรับค่าจากเซ็นเซอร์ต่างๆ อย่างเช่นเซ็นเซอร์ตำแหน่งขาคันเร่ง ความเร็วรอบเครื่องยนต์ อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิอากาศ แรงดันเทอร์โบ เป็นต้น

ปั๊มติ๊กเสีย อาการเป็นอย่างไรบ้าง

หลังจากได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องปั๊มติ๊กไปกันบ้างแล้ว คราวนี้ก็มาถึงวิธีการสังเกตอาการ ปั๊มติ๊กเสีย ว่าควรเปลี่ยนปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหรือยัง ด้วยวิธีการสังเกตุง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
1. เครื่องยนต์สั่น สะดุด
สำหรับอันดับแรกๆ ที่เป็นตัวชี้วัดว่าปั๊มติ๊กหรือปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงมีปัญหานั่นก็คือ เครื่องยนต์สั่นหรือสะดุดในขณะขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็วที่สูง (แบบคงที่) โดยจะมีอาการสั่นแล้วกลับมาเป็นปกติ ก็เนื่องจากตัวปั๊มกำลังดิ้นรนดึงเชื้อเพลิงที่เหมาะสมให้กับเครื่องยนต์อยู่ เนื่องจากแรงดันจึงขาดช่วงหรือทำให้สร้างแรงดันไม่ถึงค่าที่เหมาะสมได้ในบางครั้ง
2. อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ความร้อนสูงขึ้น
ในส่วนของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นยังบ่งบอกได้ถึงอาการของปั๊มได้เช่นกัน ดังนั้นควรหมั่นใส่ใจกับมาตรวัดบนหน้าปัดบ้าง เพราะถ้าหากความร้อนสูงขึ้น และรถมีอาการหยุดกลางคันแสดงว่ามอเตอร์ปั๊มกำลังมีปัญหา เนื่องจากสาเหตุที่เริ่มสภาพเสื่อมลง และจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่อย่างเร่งด่วน
3. รถสูญเสียกำลัง
สำหรับบางคนที่ต้องขับรถขึ้นทางลาดชันบ่อยๆ หรือแม้แต่รถที่มีการบรรทุกน้ำหนักมาก อาจสังเกตได้จากอาการเครื่องไม่มีกำลังหรือกระตุกเมื่อขับรถขึ้นทางชันหรือใช้ลากจูง เนื่องจากปั๊มติ๊กที่เริ่มเสื่อมสภาพไม่สามารถตอบสนองความต้องการน้ำมันหรือแรงดันที่เพิ่มขึ้นของระบบได้ ต้องรอให้เข้าสู่สภาวะปกติจึงสามารถสูบน้ำมันจ่ายให้ระบบด้วยแรงดันปกติได้นั่นเอง
4. เครื่องวูบ
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า อาการเครื่องวูบเกิดจากกรองน้ำมันเบนซินเสื่อมสภาพ แต่แท้จริงแล้ว ถ้าเครื่องยนต์วูบขณะที่วิ่งด้วยความเร็วคงที่ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากความต้านทานของมอเตอร์ในปั๊มติ๊กเสื่อมสภาพ ทำให้ปั๊มไม่สามารถรักษาแรงดันให้เสถียรตามค่าปกติได้นั่นเอง
5. รถสตาร์ทไม่ติด
หากใครที่ปล่อยให้ปัญหาข้างต้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่เครื่องยนต์นั้นงอแง ไม่ยอมทำงาน หรือ เรียกอีกอย่างว่าสตราท์ไม่ติด เพราะเนื่องจากปั๊มติ๊กทำงานผิดปกติก็ทำให้น้ำมันไม่สามารถเข้าไปยังเครื่องยนต์ได้เมื่อมีการจุดระเบิด
วิธีดูแลรักษา ปั๊มติ๊ก

พูดถึงวิธีการสังเกตุเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้วว่าสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่ไม่ควรละเลย ดังนั้นขั้นตอนต่อไปก็คือวิธีการดูแลรักษาว่าจะต้องทำยังไงเพื่อสามารถหลีกเลี่ยงอาการเบื้องต้นนี้ได้ เพราะว่าระบบเชื้อเพลิงนั้นเป็นระบบที่มีความละเอียดอ่อนอีกทั้งยังซับซ้อนอีกด้วย การเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย
1. ไม่ควรปล่อยให้น้ำมันเหลือน้อยเกินไป
จากเบื้องต้นที่ได้มีการอธิบายไปบ้างแล้วว่า น้ำมันเชื้อเพลิง นั้นนอกจากจะมีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้ปั๊มแล้ว อีกหน้าที่ก็คือ ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในให้ภายในปั๊มด้วย ซึ่งถ้าหากว่าในถังน้ำมันมีน้ำมันน้อยจนถึงขีดสุดท้าย ก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อการระบายความร้อน และหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อย ๆ ก็จะทำให้ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงพังไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงควรเติมน้ำมันให้มากกว่าระดับ ¼ ของถังอยู่เสมอ เพื่อเป็นการหล่อลื่นและระบายความร้อนให้กับปั๊มติ๊ก และตัวปั๊มติ๊กเองจะไม่ต้องทำงานสูบน้ำมันในระดับที่ต่ำจนเกินไป
2. ควรเติมน้ำมันคุณภาพสูง
อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรจะละเลยนั่นก็คือ การเลือกเติมน้ำมันที่มีคุณภาพสูงจากแหล่งปั๊มน้ำมันที่เชื่อถือได้ เพราะการเติมน้ำมันคุณภาพสูงจากปั๊มน้ำมันที่เชื่อถือได้ เพราะนอกจากจะช่วยการันตีเรื่องความสะอาดของน้ำมันแล้ว ก็ยังช่วยคัดกรองน้ำมันคุณภาพต่ำที่มักจะมีสิ่งสกปรกและมีสิ่งแปลกปลอมที่ปนน้ำมันมากจนเกินไป และยังจะทำให้ชิ้นส่วนภายในของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์เกิดความสึกหรอได้เร็วกว่าปกติอีกด้วย นอกจากนี้น้ำมันที่ไม่มีคุณภาพยังอาจทำให้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดการตันได้เร็กว่าปกติอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเทคนิคเบื้องต้นเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับเรื่อง ปั๊มติ๊ก ที่นำมาฝากในวันนี้ นอกจากการทำความสะอาดดูแลรถยนต์ในส่วนต่าง ๆ หรือเรื่องอื่น ๆแล้ว ส่วนประกอบภายในที่สำคัญอย่าง “ปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้รถยนต์แล่นฉิว วิ่งเร็ว แซงทางโค้งได้อย่างปกติ อย่าลืมหมั่นเช็กเครื่องยนต์ก่อนทุกครั้งและดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานให้อยู่กับเราไปนานๆ นั่นเอง
หากคุณกำลังสนใจจะ ซื้อรถมือสอง หรือ ขายรถคันเดิม แล้วล่ะก็… ที่ CARSOME เสนอราคาให้คุณคุ้มค่าที่สุด! เรามีการดำเนินการที่มีมาตรฐาน โปร่งใส รวดเร็ว ให้คุณซื้อหรือขายรถได้อย่างสบายใจ คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!

อ่านบทความต่อ: ฤกษ์ออกรถปี 2566 วางแผนออกรถอย่างไรให้ชีวิตรุ่ง หรือ 26 รถยนต์ไฟฟ้า ปี 2023 พร้อมราคารถไฟฟ้าที่วางขายในไทย